วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การพิจารณาจัดตั้งโรงงานน้ำมันปาล์มดิบ ชนิดไม่มีของเสีย


การพิจารณาจัดตั้งโรงงานน้ำมันปาล์มดิบ ชนิดไม่มีของเสีย
( Palm Oil Mill Factory : Zero Waste Type)
ดร.ทินโน ขวัญดี (Dr.Tinno Kwandee)
e-mail:tinno_kwan@hotmail.com

มีคำถามมากมาย มีข้อข้องใจสงสัยหลากหลายเกี่ยวกับ การปลูกปาล์มน้ำมัน (Oil Palm Tree) การจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (Palm Oil Mill) การตลาดน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil “CPO” Market ) อนาคตน้ำมันปาล์มดิบ (Opportunity & Market Trend ) การพิจารณาตัดสินใจ ทำอย่างไรดี ผมขอเรียนให้ทราบจากภูมิรู้ที่มีและประสบการณ์ ที่เห็นและทำผ่านมา ประกอบกับเจตจำนงในการผลักดันที่มองเห็นอนาคตที่สว่างไสวในธุรกิจพลังงาน อันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ภายใต้การพึ่งพาตนเอง อย่างมั่นคงละยั่งยืน
1. พื้นที่ และการปลูก
-1. พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ประมาณ 25 ต้น ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม
-2. พื้นที่ที่เหมาะสม ควรมีฝนตกบ่อยๆ ตลอดปียิ่งดี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยควร
อยู่ที่1500 มิลลิเมตรต่อปี ตกแบบต่อเนื่อง ถ้าเว้นระยะยาวนานจะไม่ดี
ต้องมีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง
-3. สภาพพื้นที่จะเป็นที่ราบหรือเนินชันหรือที่ลุ่มปลูกได้ทั้งนั้น แต่อย่าให้น้ำขัง
-4. ต้นกล้าที่จะเอาลงปลูกมีอายุประมาณ 1 ปี ถึง 1 ½ ปี
-5. พันธุ์กล้าที่ปลูก ส่วนใหญ่ ณ. เวลานี้ที่เป็นที่นิยมคือพันธุ์ เทอเนอร่า( DXP) หรือลูกผสมแต่มักจะอยู่ในวงนี้
-6. พันธุ์ปาล์มมีขายโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคใต้ของประเทศไทย เช่น กระบี่ สุราษฎร์ธานี และ ชุมพร ก่อนซื้อต้องดูให้ดี ผู้จำหน่ายต้องมีหนังสือรับรองจากกรมวิชาการเกษตร จึงจะเชื่อถือได้ มีบริษัทใหญ่ๆ ทำการจำหน่ายโดยทั่วไป ดูจากอินเตอร์เน็ตก็ได้
-7. หลังจากปลูกในแปลงแล้วประมาณ 2 ½ -3 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้
-8. อายุเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 20-25 ปี

2. ผลผลิตต่อไร่
-1. เฉลี่ย 1 ต้น ออกลูก 10-12 ทะลาย
-2. ทะลายละประมาณ 20-40 กิโลกรัม (มาเลเซีย 30-50 กิโลกรัม)
-3. 1ไร่ มี 25 ต้น เฉลี่ยทั้งปี มีผลผลิต 3.5-4.5 ตัน ต่อไร่ต่อปี (กระบี่) ที่ อ.หนองเสือ
จ. ปทุมธานี 5.0 ตัน ต่อไร่ ต่อปี (พ.ศ.2552) ที่มาเลเซียเฉลี่ย 4-7ตันต่อไร่ต่อปี
3. การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว 15 วันเก็บ 1 ครั้ง จะมีผู้รับเหมาช่วงมารับเหมาเก็บ คิดเฉลี่ย กิโลกรัมละ 30-50 สตางค์ ต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่เจ้าของลานปาล์ม จะมีกลุ่มคน หรือ เครือข่ายลานปาล์ม เพื่อทำการเก็บเกี่ยวแล้วนำมาขายที่ลานปาล์ม
4. การตลาดปาล์มสด
ซื้อโดยลานปาล์ม ราคาประกาศตามหน้าโรงงานที่ผลิตน้ำมัน
ปาล์มดิบ เจ้าของลานปาล์มจะต้องติดต่อประสานงานกับโรงงานที่รับซื้อปาล์มสด
(เจ้าของโรงผลิตน้ำมันปาล์มจะมีสมาคมฯและประกาศราคาด้วยกัน)
5. การตลาดน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil “CPO”และ Kernel Crude Palm Oil
“KPO” ) ใช้วิธีซื้อ ขายล่วงหน้า กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง ต่างๆดังนี้
5.1. บริษัทผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช เพื่อใช้ในการบริโภค (Cooking Oil)
5.2.บริษัทผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์น้ำมันไบโอดีเซล และ (Biodiesel ) หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง
(Additive Lubricant )
5.3.ส่งออกกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และ เกาหลี เพื่อนำไปผลิต ผลิตภัณฑ์
อาหาร น้ำมันไบโอดีเซล และ ผลิตภัณฑ์คอสเมติกส์ เสริมความงาน
5.3.การซื้อขายคาร์บอนแครดิต (Carbon Credit Market)

6. การสร้างงาน สร้างรายได้
6.1.ชุมชนมีงานทำเพิ่มขึ้น
6.2.ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และการกระจายรายได้กระจายตัวมากขึ้น
6.3.ก่อให้เกิดชุมชน และการขยายตัวของชุมชน เสริมสร้างระบบเศรษฐกิจย่อยๆ
ในชุมชน
7. การกระทบสิ่งแวดล้อม
7.1. เนื่องจากของเสียที่เกิดขึ้นในระบบงาน เป็นของเสียที่สร้างรายได้ให้กับโรงงานจึง
ต้องใช้ประโยชน์สูงสุดของวัตถุดิบ เช่น
· กาก กะลา นำมาเป็นเชื้อเพลิง(Bio mass) ในระบบความร้อนของโรงงาน (Boiler) และ ผลิตกระแสไฟฟ้า (Electrical from Turbine)
· น้ำมันที่หกและตกเรี่ยราด จะถูกชำระล้าง แล้วเอาไปสลัดเอาเฉพาะ น้ำมัน ส่วนน้ำและสิ่งเจือปนจะนำไปใช้ในระบบหมัก เพื่อให้ได้แก๊ส (Biogas)
เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Electrical from Biogas )
7.2.ของเสียที่ได้จากการหมักแก๊ส นำมาปรับปรุงคุณสมบัติเพื่อผลิตปุ๋ย
7.3.เถ้าที่เกิดจากการเผา Boiler ใช้ในอุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์
7.4.ควันที่ออกมาจากระบบ ผ่านกระบวนการสเปร์น้ำ
7.5.กลิ่นถูกกำจัดด้วยระบบหมักแบบปิด ในการทำไบโอแก๊ส โดยใช้ Balloon
ทำให้กลิ่นรั่วไหลไม่ได้ หากรั่วไหลหมายถึงการสูญเสียแก๊ส และรายได้
8. สัมพันธภาพกับชุมชน
8.1.การสร้างรายได้ให้กับชุมชนในรูปของการสร้างงาน สร้างชุมชน
8.2.การเสริมสร้างความรู้ด้านวิชาการเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง
· วิชาการทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร โรงงานควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีประสิทธิภาพในการผลิตวัตถุดิบ(ผลปาล์มดิบ)เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมกับเกษตรกร และโรงงานจะได้ประโยชน์จากการมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และปริมาณเพิ่ม
· วิชาการทางด้านเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว การเก็บผลปาล์มดิบมีผลต่อปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน เมื่อโรงงานได้ผลปาล์มดิบที่มีเปอร์เซ็นต์
น้ำมันน้อย จะทำให้รายได้หายไป ขณะเดียวกัน เกษตรกรจะขายผลปาล์มได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะได้รับ
· วิชาการด้านช่างและวิศวกรรม โรงงานควรส่งเสริม ลูกหลานประชาชนในพื้นที่เข้าศึกษา อบรม วิทยาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เช่น ช่างกล ช่างยนต์ ช่างท่อ ช่างโลหะแผ่น ช่างไฮดรอลิค
และนิวแมร์ติกส์(Hydraulic and Pneumatic) ช่างไฟฟ้า และไฟฟ้าควบคุม
วิชาการด้านเคมี –เคมีประยุกต์ ด้วยสาเหตุ มีความจำเป็นต่อการใช้งานของผู้มีความรู้ในวิทยาการด้านเหล่านี้ ประกอบกับลูกหลานเกษตรกรจะได้ทำงานอยู่ในพื้นที่ ทำให้คุณภาพชีวิต และครอบครัวดี และอบอุ่น
· การเตรียมการเพิ่มเติม ต้องเตรียมการวิทยาการทางด้าน เทคโนโลยีอาหาร และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เสริมความงามเนื่องจาก นอกเหนือจากน้ำมัน ปาล์มดิบแล้ว ผลิตภัณฑ์ปลายทางของน้ำมันปาล์มดิบ (By Products) สามารถนำไปผลิต ผลิตภัณฑ์อื่นๆได้อีกเป็นจำนวนมากชนิด
8.3.เสริมสร้างกลุ่มประชาคมพึ่งตนเอง บนรากฐานศักยภาพท้องถิ่น
8.4.เสริมสร้างรายได้ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล และจังหวัด(อบต. อบจ.)
8.5.ลดปัญหาอาชญากรรม เนื่องสภาวะการณ์ที่ดีข้นจากเศรษฐกิจ รายได้ และ อาชีพ
9. พิจารณาตั้งโรงงาน เกี่ยวกับวัตถุดิบ
· 1 ไร่ คิดผลผลิต ที่ 4 ตัน ต่อไร่ต่อปี
· โรงงานขนาดเล็กผลิต 15 ตัน ต่อ ชั่วโมง
· 1 วัน คิดที่ทำงาน วันละ8 ชั่วโมง
· 1 ปี ทำงานประมาณ 250 วัน
· 1 ปี ต้องใช้วัตถุดิบ = 15 ตัน X 8 ชม.X250 วันต่อปี=30,000 ตัน
· 1 ไร่ผลิตได้4ตันต่อไร่ต่อปี =30,000 ตัน/4 =7,500 ไร่ ดังนั้นหากต้องการสร้างโรงงานขนาด15 ตันต่อชั่วโมง ต้องมีสวนปาล์มหรือ สวนเครือข่ายในบริเวณใกล้เคียง ไม่น้อยกว่า 7,500 ไร่ หรือมากกว่า (การเก็บเกี่ยวผลปาล์มดิบไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำมันปาล์ม เป็นกรด
จึงคาดการณ์ที่เหมาะสมทางด้านระยะทางการขนส่งระหว่าง ลานปาล์ม
หรือสวนปาล์ม กับโรงงาน ไม่ควรเกิน 200-300 กิโลเมตร หากมากกว่านั้น
จะมี ผลกระทบกับต้นทุนในการขนส่ง และระยะเวลาในการส่งปาล์มเข้าสู่
ระบบการผลิต )

10. พิจารณาด้านรายได้จากการสร้างโรงงานน้ำมันปาล์ม
· ปริมาณน้ำมันในผลปาล์มดิบเฉลี่ย (ไทย)มีประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์(มาเลเซีย 27เปอร์เซ็นต์)
· ปาล์มดิบ 5 กิโลกรัม ผลิตน้ำมัน(CPO) ได้ 1กิโลกรัม (5:1)
· ราคาผลปาล์มสด เฉลี่ย กก.ละ3 บาท 5กก.= 15 บาท ได้ น้ำมัน 1 กก.
· น้ำมัน 1 กก. ราคาขายเฉลี่ย 25 บาท (กำไร 10 บาท ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
· 1ปี ผลิต 30,000 ตัน =30,000 x1,000 =30,000,000 กิโลกรัม ต้องใช้เงินซื้อวัตถุดิบ 30,000,000 กก.x3.00 บาท/กก =90,000,000 บาท/ปี
· ได้น้ำมัน 30,000,000 กก./5 =6,000,000 กก.(CPO)
· รายได้ 6,000,000 กก.(CPO) x 25 บาท/กก =150,000,000 บาท/ปี
· หักค่าใช้จ่ายจากวัตถุดิบ 150,000,000 บาท/ปี - 90,000,000 บาท/ปี
= 60,000,000 บาท/ปี
· หักค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตทั้งหมด ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
60,000,000 บาท/ปี x0.30 =18,000,000 บาท/ปี
รายได้คงเหลือ 60,000,000 บาท/ปี - 18,000,000 บาท/ปี
= 42,000,000บาท/ปี
11. รายได้ทางอื่นๆ
· ขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
· ขาย Carbon Credit
· ขายปุ๋ยให้เกษตรกร
· ขายขี้เถ้าให้บริษัทปูนซีเมนต์
· ประมาณการ ปีละ 5,000,000 บาท /ปี
12. รายได้สุทธิ 42,000,000บาท/ปี (CPO) +5,000,000 บาท /ปี =47,000,000 บาท /ปี
13. ผลประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ทางอ้อม
· ด้านมวลชน มีประชาชนที่เป็นสมาชิกกลุ่มและเครือญาติไม่น้อยกว่า 20,000 คน ต่อ 1 โรงงาน หากขยายการผลิตเป็น 30 ตัน/ชม. 45ตัน /ชม.หรือ 60 ตัน/ชม. ก็จะมีสมาชิกเพิ่มตามลำดับ อย่างผูกพัน และมีนัยยะสำคัญ
· ด้านสังคม ภาพลักษณะของธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นธุรกิจที่สวยงาม ใช้ความรู้ความสามารถ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ไม่รุกรานธรรมชาติ ไม่เอาเปรียบประชาชน ช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความเข้มแข็งในท้องถิ่น และการเพิ่งตนเอง ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
14. ความเสี่ยง
· คิดการลงทุนที่ 150 ล้านบาท (ขึ้นอยู่กับระบบ และขนาดของโรงงาน)
· รายได้ต่อปี 47,000,000 บาท /ปี
· ROI=150,000,000 / 47,000,000 =3.19 ปี
· เผื่อ 10 เปอร์เซ็นต์ =3.19 + 0.319 =3.509 ปี
15. โอกาสทางด้านอื่นๆ
· นโยบายเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม โลกร้อน ในระดับนานาชาติ ต้องการเปลี่ยนการใช้น้ำมันจากปิโตรเลี่ยม มาใช้น้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel) จากน้ำมันปาล์ม
และพืชอื่นๆ แต่ปาล์มน้ำมันให้การตอบแทนที่สูงกว่า จึงมีแนวโน้มที่ดี
ในประเทศไทยเดิมใช้ B1 และB2 (B1=10 เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม
90 เปอร์เซ็นต์น้ำมันดีเซล ) และตามแผนพลังงานแห่งชาติ ต้องการผลักดัน
ให้อัตราส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึง B5 และ B10 โดยในระยะเวลาอันใกล้
· แผนพลังงานในประเทศต่างๆ ผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทดแทน โดยการออกกฎหมายบังคับใช้ รวมถึงประเทศไทย
· ปริมาณการผลิต ยังไม่สมดุลกับการใช้งาน (Demand site& Supply site imbalance)
· การเพิ่มขึ้นของประชากร และการบริโภค ในสัดส่วนต่อการผลิตน้ำมันที่ใช้ในครัวเรือน (Cooking oil)
· น้ำมันปาล์มดิบ เป็นวัตถุดิบต้นทางของผลิตภัณฑ์อื่นๆ หลายร้อยรายการ
· อื่นๆ
16. ช่องทางการลงทุน เงินลงทุน
· เงินลงทุนจากการส่งเสริมจากภาครัฐ
· เงินลงทุนจากการส่งเสริมจากธนาคารพานิช
· การร่วมทุนภายในประเทศ หรือ การร่วมทุนกับต่างชาติที่สนใจธุรกิจด้านนี้ เช่น กลุ่มยุโรป ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และ เกาหลี


……………………………………………………………………………………………
สิ่งที่อ้างถึง:-

ยุทธศาสตร์การพัฒนาลังงานทดแทน พ.ศ.2551-2565
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
โอกาสของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม


กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม (CPO) บริษัท สุธีกรุ๊ป จำกัด
(Palm Oil Mill Process : Sutee Group Co.;Ltd)